พื้นที่พรุ


 

 
 
 
 
                   เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมขังดินส่วนใหญ่เป็นดินอินทรีย์ (Organic soil) ซึ่งเกิดจากการสลายตัวผุพังของซากพืชที่เน่าเปื่อย ทับถมเป็นชั้นหนา ถัดจากชั้นดินอินทรีย์ลงไปเป็นชั้นดินเลน รือตะกอนดินทะเลที่มีสารไพไรท์สะสมอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งหากถูกทับกับอากาศจะปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา เป็นสาเหตุที่ทำให้ดินเปรี้ยวซึ่งพบมากบริเวณขอบพรุที่ถูกน้ำระบายออกไป พื้นที่พรุในจังหวัดนราธิวาส มีเนื้อที่ 261,860 ไร่ เป็นพรุใหญ่ ๆ แห่ง คือ พรุบาเจาะ ทางตอนเหนือของจังหวัดนราธิวาส มีเนื้อที่ 52,018 ไร่ และพรุโต๊ะแดง เนื้อที่ 187,040 ไร่ อยู่ทางทิศใต้ ลักษณะการใช้พื้นที่พรุแบ่งเขตการใช้ดินออกเป็น เขต คือ

                        เขตสงวน (Preservation zone) ยังคงสภาพสมบูรณ์ เป็นเขตที่ต้องดำเนินการรักษาไว้อย่างเข้มงวด เพื่อให้สภาพ                        แวดล้อมมีการ
เปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด และจัดเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เนื้อที่ 56,907 ไร่ 
                      เขตอนุรักษ์ (Conservation zone) เป็นป่าพรุเสื่อมโทรมจาการถูกทำลายบางส่วน เป็นเขตที่ได้ดำเนินการฟื้นฟูให้กลับ                  เป็นเขตสงวนดังเดิม โดยการศึกษาวิจัย สำรวจหาพันธุ์พืชที่สามารถนำมาปลูกทดแทนได้อย่างเหมาะสม เนื้อที่ 109,938 ไร 
                      เขตพัฒนา (Development zone) พื้นที่ส่วนนี้ถูกระบายน้ำออกไป และป่าถูกทำลายเพื่อนำไปใช้ในการเกษตร และ                    เป็นที่อยู่อาศัย เป็นเขตที่กำหนดให้หน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วมดำเนินการพัฒนาพื้นที่ โดยค้นคว้า วิจัย หาแนวทางในการปรับปรุง                    แก้ไข และจัดการดินในพื้นที่พรุ เนื้อที่ 95,015 ไร่